ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์* ยุทธนา พันธ์มี**
บทนำ
การพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาครู
คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
โดยระบุไว้ใน หมวด 1 บททั่วไป
ความมุ่งหมายของหลักการมาตร 9(4) ว่า
“มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
และการพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคคลทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง” และได้กำหนดหลักการดำเนินการไว้ในหมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มาตร 52 ว่า
“ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ และกระบวนการผลิตพัฒนาครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
โดยการกำกับและประสานให้สถาบันที่มีหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์
รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่องรัฐพึงจัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาอย่างพอเพียง" 1
ภาพที่ 1 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ดังนั้นนักศึกษาวิชาชีพครูจึงถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญต้องมีความพร้อมที่จะไปเป็นครูในอนาคต
ควรได้รับการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครูในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมผสมผสานกับเทคนิควิธีการสอนอันจะสามารถถ่ายทอดเนื้อหาความรู้แก่ผู้เรียนที่จะพัฒนาไปเป็นบุคคลในศตวรรษหน้า
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ICT
Literacy) ให้รู้จักเลือกรับ เลือกปฏิเสธ และรู้เท่าทันเทคโนโลยีไปพร้อมๆ
กับการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
สมรรถนะวิชาชีพครู :
ความหมายและความสำคัญ
ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ
สังคม เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ไหล่บ่าข้ามพรมแดนมาถึงกันอย่างรวดเร็ว
ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการแสดงหาความรู้มีการปรับเปลี่ยนไปจากระบบการศึกษาในรูปแบบดั่งเดิมที่มีครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนฝ่ายเดียว
ไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองที่นักเรียนสามารถแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งท้าทายครูยุคใหม่ในการจัดองค์ความรู้ให้บังเกิดต่อการพัฒนาผู้เรียน
ดังนั้นครูจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานหรือกิจกรรมวิชาชีพครูได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความคาดหวังขององค์การทั้งระดับโรงเรียน
เขตพื้นที่การศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการ
มีการให้นิยามความหมายของคำว่า
สมรรถนะ (Competency)
หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Ability) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (Other Characteristics) ที่ทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้สำเร็จและบรรลุผลสัมฤทธิ์ขององค์การ
หรืออาจกล่าวสรุปได้ว่า สมรรถนะ หมายถึง
บุคลิกลักษณะที่ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีตามเกณฑ์ที่กำหนดและสามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบได้ดีกว่าผู้อื่น
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สมรรถนะ หมายถึง
พฤติกรรมการปฏิบัติงานซึ่งเป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถและพฤติกรรมอื่นๆ
ที่ทำให้สามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานในองค์กร ดังนั้น สมรรถนะ
จึงหมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะของครูที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพครูให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
สมรรถนะครูจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติวิชาชีพครูให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามความต้องการขององค์การทางการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา
ทั้งนี้การพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูภายใต้สังคมแห่งยุคโลกาภิวัตน์หรือ
The Globalization นั้นได้มีการศึกษาวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูในหลายหน่วยงาน
ซึ่งมีบทสรุปการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้พัฒนาสมรรถนะและตัวบ่งชี้ของครูไทย
โดยแบ่งออกเป็นสมรรถนะหลัก (Core Competency) ประกอบไปด้วย 5
สมรรถนะ และสมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) ประกอบไปด้วย 6 สมรรถนะ โดยหนึ่งใน 6 สมรรถนะ คือ สมรรถนะที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
มีความหมายว่า ความสามารถในการสร้างพัฒนาหลักสูตร
การออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี
และการวัดประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
และตัวบ่งชี้ที่สำคัญอีกตัวก็คือ ตัวบ่งชี้ที่ 4 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้
2
ภาพที่ 2 ครูไทยยุคใหม่บูรณาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีทางการศึกษา
ดังนั้นเพื่อเป็นการแสวงหามาตรการและแนวทางใหม่ในการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับยุคสมัยของทักษะแห่งอนาคตใหม่การเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 ซึ่งจะทำให้ครูสามารถนำผู้เรียนไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
นำโรงเรียนไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในทามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม
เพื่อมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาให้เป็นไปตามเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาโดยต้องเริ่มพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูด้านสมรรถนะทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
4Cs ที่จะนำไปสู่ทักษะแห่งอนาคตใหม่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ของทรัพยากรบุคคลเป็นผู้มีความพร้อมที่จะพัฒนาประเทศไทยต่อไป
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
4Cs
การเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21
นั้นการจัดการเรียนรู้ควรคำนึงถึง มาตรฐานการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21
การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อม
การเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอน หรือการศึกษาในศตวรรษที่
21
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ เป็นทักษะที่มีความพร้อมสำหรับการดำรงชีวิตที่ซับซ้อนมากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
โดยมุ่งเน้นด้านความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร
การคิดเชิงวิเคราะห์และการทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับครูในอนาคต
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คือ
การใช้ความหลากหลายของเทคนิคการใช้ความคิด (การระดมความคิด )
การสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ที่คุ้มค่า วิเคราะห์และประเมินผลความคิดของตนเอง
เพื่อปรับปรุงและเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ของตนอยู่ตลอดเวลา
การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ การสื่อสารความคิดใหม่ๆ ร่วมกัน
เปิดกว้างและตอบสนองมุมมองใหม่ๆ มีการเสนอแนะในการทำงานร่วมกัน แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการทำงานและเข้าใจข้อจำกัด
ในโลกปัจจุบันจริงที่จะใช้ความคิดใหม่ดูความล้มเหลวเป็นโอกาสที่จะเรียนรู้
เข้าใจว่าความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นกระบวนการวัฏจักรของความสำเร็จและมีความผิดพลาดเล็ก
ๆ บ่อยอยู่บ้าง การใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา การใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้เหตุผลในการทำงานตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
การใช้การคิดเชิงระบบ วิเคราะห์ แยกแยะ เพื่อสร้างผลลัพธ์โดยรวมในระบบที่ซับซ้อน ให้คำตัดสินและการตัดสินใจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และประเมินค่า, วิเคราะห์และประเมินทางเลือกที่สำคัญมุมมองต่างๆ
,สังเคราะห์และทำให้การเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลและข้อโต้แย้ง ,
ตีความข้อมูลและสรุปผลจากการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด , สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตเมื่อประสบการณ์การเรียนรู้และกระบวนการแก้ปัญหาแก้ปัญหาที่แตกต่างกันของปัญหาในรูปแบบทั้งแบบธรรมดาและนวัตกรรม
,ระบุและถามคำถามสำคัญที่ชี้แจงจุดต่างๆ ของมุมมองและนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดีกว่า
การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน การสื่อสารอย่างชัดเจน ความชัดเจนในด้านความคิด
คิดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทักษะการสื่อสาร การเขียน
ความหลายหลากในรูปแบบและบริบทในการสื่อสาร
การสื่อสารโดยการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ ค่านิยม
ทัศนคติและความตั้งใจ ตอบสนองการฟัง ฟังแล้วสามารถเข้าใจ สื่อสารได้ และการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ
ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและการทำงานเป็นทีมที่มีความหลากหลายได้
มีความสามารถฝึกฝนได้อย่างคล่องแคล่ว
และความตั้งใจในการทำให้เกิดความสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย มีความรับผิดชอบร่วมกันสำหรับการทำงานร่วมกันและการมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคล
3
ดังนั้นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
4Cs คือ การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงมาตรฐานการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 อันจะเป็นการกำหนดความพร้อมให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้มีความพร้อมทำหน้าที่ของครูผู้สอนตามระบบการศึกษาไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม
ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) การสื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration)
และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ที่สามารถจัดการเรียนรู้ภายใต้การบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนหรือการศึกษาในศตวรรษที่
21
กระบวนการที่จะพัฒนานักศึกษาวิชีพครูให้มีสมรรถนะทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
4Cs
นอกจากการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตในเวลาปกติแล้ว
การส่งเสริมด้วยวิธีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูนั้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจงเน้นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลที่ต้องการให้เกิดกับบุคคลนั้นปฏิบัติอยู่หรือจะปฏิบัติต่อไปในระยะยาว โดยมีเนื้อหาของการฝึกอบรมตรงกับความต้องการ โดยเลือกรูปแบบวิธีการ และกระบวนการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา
อันที่ส่งผลให้นักศึกษาวิชาชีพครูเกิดความรู้ความสามารถหรือสมรรถนะทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมตามที่ต้องการ
รูปแบบ TPACK
(The TPACK Model)
รูปแบบ TPACK หรือ TPCK
คือกระบวนการให้ความรู้แก่ครูหรือบูรณาการไอซีที ที่มีประสิทธิผล
โดยที่ครูจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี การเรียนการสอน
ความรู้ด้านเนื้อหาที่ปฏิสัมพันธ์กันเพื่อประสิทธิผลของการสอนในรายวิชาโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุน4 โดยมีองค์ประกอบของ TPACK
ทีนำมาบูรณาการ 3 ส่วน คือ
ภาพที่ 4 รูปแบบการบูรณาการ TPACK
1.
ความรู้ด้านเนื้อหา (Content
Knowledge) CK คือ สาระ ข้อมูล แนวคิด หลักการ
เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาการในตัวของผู้สอนที่จะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน
2.
ความรู้ด้านศิลปะการเรียนการสอน (Pedagogical
Knowledge) คือ
ความรู้ที่ใช้ประยุกต์แนวทางการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน การจัดชั้นเรียนและการประเมินผลซึ่งเป็นความรู้ที่ลุ่มลึกเกี่ยวกับกระบวนการและการปฏิบัติหรือวิธีการสอน
3.
ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological
Knowledge) คือ ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สื่ออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาการและผู้เรียน
หากพิจารณาจากรูปแบบ TPACK คือการบูรณาการความรู้
ความสามารถ และทักษะ ทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันอย่างลงตัวโดยประการแรกที่ผู้สอนต้องมี
คือ CK ความรู้ในเนื้อหาสาระ แนวคิด หลักการ
รวมทั้งเจตคติที่ดีของข้อมูลต่างๆ ที่จะเรียบเรียงพร้อมที่จะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน ประการที่สองคือ PK ความรู้
ความสามารถและทักษะของการถ่ายทอดความรู้ด้านเนื้อหา รวมถึงการวัดผลประเมินผลในการจัดการเรียนการสอน
ที่สามารถให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ ตามความเหมาะสมกับวัยวุฒิ
คุณวุฒิของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดของผู้เรียน
และสิ่งต่างๆเหล่านั้นอาจเรียกได้ว่าวิธีการสอน เทคนิคการสอนต่างๆที่ผู้สอนจะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนตามสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และประการที่สาม คือ TK การที่ผู้สอนมีความรู้ในเนื้อหาวิชาการ
(CK) อย่างลุ่มลึกและท่องแท้ที่เกิดจากสั่งสมประสบการณ์ด้านการถ่ายทอดความรู้
หรือเทคนิค วิธีการสอนต่างๆ (PK) โดยมีความรู้
และสนใจที่จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ
ด้านการศึกษามาประยุกต์ใช้หรือนำมาเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหา ระดับการศึกษาของผู้เรียน และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
(TK)
จากความสำคัญของสมรรถนะวิชาชีพครูที่ต้องการให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี
และการวัดประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
และตัวบ่งชี้ที่สำคัญอีกตัวก็คือ ตัวบ่งชี้ที่ 4 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้
ตามแนวทางของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ในศตวรรษที่ 21 และแนวทางกระบวนการให้ความรู้แก่ครูหรือบูรณาการไอซีที ที่มีประสิทธิผล โดยที่ครูจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี
การเรียนการสอน
ความรู้ด้านเนื้อหาที่ปฏิสัมพันธ์กันเพื่อประสิทธิผลของเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุน
จึงสรุปจากกรณีศึกษามาเพื่อเป็นแนวทางเพื่อต่อยอดที่จะนำไปสู่การพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูต่อไป
กรณีศึกษา
: การพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่
21
ด้วย
TPACK
Model (การอบรมการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับครูคณิตศาสตร์
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน
2557 ณ โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว จังหวัดกำแพงเพชร)
1. การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
คือ วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของการพัฒนาการของผู้เรียน
กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
1. สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมการศึกษาที่เอื้อต่อการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน ได้แก่ มีบริการเครือข่ายข่ายไร้สาย (WiFi) และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สามารถใช้เครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนมีโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟนที่สามารถเข้าถึงบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา
2. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต้องการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 4 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ และทักษะการเรียนและนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21
3. สร้างเครือข่ายการศึกษาของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ที่จะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาผลงานเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
1. สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมการศึกษาที่เอื้อต่อการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน ได้แก่ มีบริการเครือข่ายข่ายไร้สาย (WiFi) และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สามารถใช้เครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนมีโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟนที่สามารถเข้าถึงบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา
2. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต้องการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 4 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ และทักษะการเรียนและนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21
3. สร้างเครือข่ายการศึกษาของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ที่จะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาผลงานเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
2.
การกำหนดจุดประสงค์ของการพัฒนา
คือ การพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการพัฒนา และแก้ไขโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ โดยเรียงลำดับความสำคัญและสิ่งที่เกิดผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาหรือลำดับขั้นของการเรียนรู้
1. ครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สามารถพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยกระบวนการ ADDIE Model ได้
2. ครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ได้แก่ การคิดวิเคราะห์, การรวมมือ, การสื่อสาร, การคิดสร้างสรรค์ ตรงตามสมรรถนะที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 4 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้
3. มีเครือข่ายการศึกษาของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของผู้เรียน และเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media)
1. ครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สามารถพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยกระบวนการ ADDIE Model ได้
2. ครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs ได้แก่ การคิดวิเคราะห์, การรวมมือ, การสื่อสาร, การคิดสร้างสรรค์ ตรงตามสมรรถนะที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ที่ 4 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้
3. มีเครือข่ายการศึกษาของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของผู้เรียน และเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media)
3. จัดลำดับเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ คือ การเลือกเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการพัฒนา
หรือเพื่อแก้ปัญหา โดยเลียงลำดับของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้
ความเข้าใจและทักษะตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
1. บรรยาย “ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ในศตวรรษที่ 21” /ชี้แจงการอบรม
2. กำหนดปัญหาและความต้องการที่จะพัฒนา (กำหนดปัญหา PBL1)
3. ประเมินตนเองด้าน IT ก่อนอบรมออนไลน์
4. สมัครเครือข่ายการเรียนรู้ Facebook/ครูรุ่นใหม่หัวใจไอที, เว็บไซต์ครูสอนดี
5. ทำแบบทดสอบก่อนอบรม ออนไลน์
6. กระบวนการแบ่งกลุ่มปฏิบัติตามความรู้และถนัด กลุ่มละ 5 คน 1A 2D 3D 4I 5E
7. ศึกษาเนื้อหาอบรม (Workshop เว็บไซต์พัฒนาการเรียนการสอน)
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ Analysis : สื่อนวัตกรรม/สภาพแวดล้อม/เนื้อหา/ผู้เรียน/ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม/วิธีการสอน/การบริหารจัดการ
(ทำความเข้าใจปัญหา PBL2)
ขั้นที่ 2 การออกแบบ Design :
1. การออกแบบ Courseware ได้แก่ /วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม/เนื้อหา/แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test)/สื่อ/กิจกรรม/วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง
(Storyboard)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) ได้แก่ การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)/การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ/การเลือกรูปแบบและขนาด ของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษการกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ /การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
1. บรรยาย “ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ในศตวรรษที่ 21” /ชี้แจงการอบรม
2. กำหนดปัญหาและความต้องการที่จะพัฒนา (กำหนดปัญหา PBL1)
3. ประเมินตนเองด้าน IT ก่อนอบรมออนไลน์
4. สมัครเครือข่ายการเรียนรู้ Facebook/ครูรุ่นใหม่หัวใจไอที, เว็บไซต์ครูสอนดี
5. ทำแบบทดสอบก่อนอบรม ออนไลน์
6. กระบวนการแบ่งกลุ่มปฏิบัติตามความรู้และถนัด กลุ่มละ 5 คน 1A 2D 3D 4I 5E
7. ศึกษาเนื้อหาอบรม (Workshop เว็บไซต์พัฒนาการเรียนการสอน)
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ Analysis : สื่อนวัตกรรม/สภาพแวดล้อม/เนื้อหา/ผู้เรียน/ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม/วิธีการสอน/การบริหารจัดการ
(ทำความเข้าใจปัญหา PBL2)
ขั้นที่ 2 การออกแบบ Design :
1. การออกแบบ Courseware ได้แก่ /วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม/เนื้อหา/แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test)/สื่อ/กิจกรรม/วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง
(Storyboard)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) ได้แก่ การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)/การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ/การเลือกรูปแบบและขนาด ของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษการกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ /การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
ขั้นที่ 3 การพัฒนา Development :
1. การเตรียมข้อความ, การเตรียมภาพ, การเตรียมเสียง
2. เรียนรู้การพัฒนาเว็บไซต์สำเร็จรูป joomla
3. แลกเปลี่ยนผลงานและติชม
4. คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตรวจประเมิน (คอมเม้นผลงาน)
5. บรรยายการนำไปทดลองใช้ 1:1 ตรวจสอบความถูกต้อง 1:10 ดูความเหมาะสมของเวลาและเนื้อหา การมีปฏิสัมพันธ์ 1:30 เพื่อหาคุณภาพภายใต้สถานการณ์จำลอง และสภาพแวดล้อมการเรียนจริง ด้วยเกณฑ์ 80/80 (ดำเนินการศึกษาค้นคว้า PBL3)
1. การเตรียมข้อความ, การเตรียมภาพ, การเตรียมเสียง
2. เรียนรู้การพัฒนาเว็บไซต์สำเร็จรูป joomla
3. แลกเปลี่ยนผลงานและติชม
4. คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตรวจประเมิน (คอมเม้นผลงาน)
5. บรรยายการนำไปทดลองใช้ 1:1 ตรวจสอบความถูกต้อง 1:10 ดูความเหมาะสมของเวลาและเนื้อหา การมีปฏิสัมพันธ์ 1:30 เพื่อหาคุณภาพภายใต้สถานการณ์จำลอง และสภาพแวดล้อมการเรียนจริง ด้วยเกณฑ์ 80/80 (ดำเนินการศึกษาค้นคว้า PBL3)
ขั้นที่ 4 การนำไปใช้ Implementation :
1. การนำสื่อนวัตกรรมไปประกอบการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยจะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจแก่ผู้เรียนในปัจจัยต่างๆ,สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามวัตถุประสงค์ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้นจึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง
2. หาประสิทธิภาพของบทเรียนและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ E2/E2 (สังเคราะห์ความรู้ PBL4)
1. การนำสื่อนวัตกรรมไปประกอบการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยจะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจแก่ผู้เรียนในปัจจัยต่างๆ,สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามวัตถุประสงค์ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้นจึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง
2. หาประสิทธิภาพของบทเรียนและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ E2/E2 (สังเคราะห์ความรู้ PBL4)
ขั้นที่ 5 การประเมินผล Evaluation : (สรุปและประเมินค่าหาคำตอบ PBL5)
1. การประเมินหลังการสอน (Summative evaluation) เมื่อผู้เรียนได้เรียนด้วยสื่อที่สามารถแก้ปัญหาการเรียนที่เกิดขึ้น แนวทางการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน t-test
2. การศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อนวัตกรรม และความคิดเห็นอื่นๆ
1. การประเมินหลังการสอน (Summative evaluation) เมื่อผู้เรียนได้เรียนด้วยสื่อที่สามารถแก้ปัญหาการเรียนที่เกิดขึ้น แนวทางการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน t-test
2. การศึกษาความพึงพอใจต่อสื่อนวัตกรรม และความคิดเห็นอื่นๆ
8.
ทำแบบทดสอบหลังอบรม ออนไลน์
9. ประเมินสมรรถนะการผลิตสื่อ โดยผู้เชี่ยวชาญ
10. สอบถามความพึงใจต่อการฝึกอบรม
11. ประเมินตนเองด้าน IT หลังอบรมออนไลน์
12. ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ AAR (นำเสนอและประเมินผลงาน PBL6)
9. ประเมินสมรรถนะการผลิตสื่อ โดยผู้เชี่ยวชาญ
10. สอบถามความพึงใจต่อการฝึกอบรม
11. ประเมินตนเองด้าน IT หลังอบรมออนไลน์
12. ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ AAR (นำเสนอและประเมินผลงาน PBL6)
4. จัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ คือ อาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวิธีสอนแบบต่างๆ
เป็นแนวทางที่ทำให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมได้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้และทักษะตามวัตถุประสงค์
1. สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
1.1 วิเคราะห์ : คิดวิเคราะห์ความต้องการเพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อนวัตกรรม
1.2 การสื่อสาร : สมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม และต่างกลุ่มด้วย Social Media และการสื่อสารเนื้อหาบรรยายสู่การปฏิบัติ
1. สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
1.1 วิเคราะห์ : คิดวิเคราะห์ความต้องการเพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อนวัตกรรม
1.2 การสื่อสาร : สมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม และต่างกลุ่มด้วย Social Media และการสื่อสารเนื้อหาบรรยายสู่การปฏิบัติ
1.3
การร่วมมือ : เกิดการความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่ม
ที่มีความสามารถ แตกต่างกันร่วมกันผลิตพัฒนาสื่อนวัตกรรม
1.4 ความคิดสร้างสรรค์ : จากการประเมินคุณภาพของสื่อนวัตกรรมที่เกิดการออกแบบและพัฒนาทุกขั้นตอน
1.4 ความคิดสร้างสรรค์ : จากการประเมินคุณภาพของสื่อนวัตกรรมที่เกิดการออกแบบและพัฒนาทุกขั้นตอน
2.
การบูรณาการเรียนรู้ TPACK
ความรู้ด้านเนื้อหา (CK) : การผลิตสื่อที่ผู้อบรมมีความรู้เนื้อหาโดยนำมาสรุปเนื้อหากระชับเข้าใจง่ายลงในสื่อนวัตกรรมอย่างมีรูปแบบ (TCK)
ความรู้ด้านศิลปะการสอน (PK) : กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) (PCK)
ความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษา (TK) : ความรู้เกี่ยวการใช้เทคโนโลยีประกอบการอบรม แบบทดสอบออนไลน์, แบบประเมินออนไลน์, เครือข่ายสังคม, และการพัฒนาสื่อนวัตกรรม (TPK)
ความรู้ด้านเนื้อหา (CK) : การผลิตสื่อที่ผู้อบรมมีความรู้เนื้อหาโดยนำมาสรุปเนื้อหากระชับเข้าใจง่ายลงในสื่อนวัตกรรมอย่างมีรูปแบบ (TCK)
ความรู้ด้านศิลปะการสอน (PK) : กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) (PCK)
ความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษา (TK) : ความรู้เกี่ยวการใช้เทคโนโลยีประกอบการอบรม แบบทดสอบออนไลน์, แบบประเมินออนไลน์, เครือข่ายสังคม, และการพัฒนาสื่อนวัตกรรม (TPK)
5.
การประเมินผล คือ เป็นสิ่งที่จะทำให้ทราบว่าหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
โดยปกติจะพิจารณาจากผลของการใช้หลักสูตร นั่นคือ
พิจารณาว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
เนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้มีความเหมาะสมเพียงใด โดยการดูผลการประเมินต่อไปนี้
1. ประเมินความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังอบรม
2. ประเมินคุณภาพสื่อนวัตกรรมมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ประเมินผลความพึงพอใจต่อหลักสูตรการฝึกอบรม
3. ประเมินผลความพึงพอใจต่อหลักสูตรการฝึกอบรม
4.
ประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 4Cs
ภาพที่ 5 กิจกรรมการฝึกอบรมการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับครูคณิตศาสตร์ฯ
จากแนวคิดของรูปแบบ TPACK คือกระบวนการให้ความรู้แก่ครูหรือบูรณาการไอซีที ให้เกิดทักษะเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับเนื้อหา ผู้เรียน และผู้สอน ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค และวิธีการสอนแบบปัญหาเป็นฐานเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง5 ที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามรถเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาด้านวิชาการ การที่ผู้เรียนจะสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการบูรณาการของพื้นฐานความรู้ ภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ผู้เรียนต้องมีทักษะที่จำเป็นเพื่อให้ประสบความสำเร็จในดำรงชีวิตชีวิตสังคมโลกปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพ ด้วยทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและการร่วมมือกัน ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะนำรูปแบบมาพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีสมรรถนะวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นครูที่มีความรู้ความสามรถที่มีความพร้อมพัฒนาประเทศต่อไป
จากแนวคิดของรูปแบบ TPACK คือกระบวนการให้ความรู้แก่ครูหรือบูรณาการไอซีที ให้เกิดทักษะเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับเนื้อหา ผู้เรียน และผู้สอน ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคนิค และวิธีการสอนแบบปัญหาเป็นฐานเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หาความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง5 ที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามรถเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาด้านวิชาการ การที่ผู้เรียนจะสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการบูรณาการของพื้นฐานความรู้ ภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ผู้เรียนต้องมีทักษะที่จำเป็นเพื่อให้ประสบความสำเร็จในดำรงชีวิตชีวิตสังคมโลกปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพ ด้วยทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสารและการร่วมมือกัน ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะนำรูปแบบมาพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีสมรรถนะวิชาชีพเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นครูที่มีความรู้ความสามรถที่มีความพร้อมพัฒนาประเทศต่อไป
อ้างอิง :
1| กระทรวงศึกษา. (2554). สำนักงานเลขานุการกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. บทความออนไลน์ สืบค้นได้ที่http://www.moe.go.th/edtechfund /fund/index.php ?option=com content&view=article&id=16:-2542-9-&catid=6:2011-02-17-04-59-55&Itemid=14. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557
2| สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). การพัฒนาสมรรถะครูในศตวรรษที่ 21. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1-2. บทความออนไลน์ สืบค้นได้ที่ http://www.addkutec3.com /wp-content/uploads/2013/05/การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่-211.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 20พฤษภาคม 2557
3| เครือข่าย P21. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เครือข่าย P21. บทความออนไลน์ สืบค้นได้ที่ https://www.google.co.th/ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557.4| ประหยัด จีระวรพงศ์. (2553). บทความวิชาการ : การบูรณาการไอซีทีสำหรับครู.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 12 ฉบับที่ 2. : พิษณุโลก.
5| มัณฑรา ธรรมบุศย์.(2557). เอกสารทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. : ภูเก็ต
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………
* อาจารย์ภาควิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
** นิสิตปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร